การจัดการองค์ความรู้ (KM)
คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบแลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้ และปัญญาในที่สุด
ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge)
ระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
1. ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What)
2. ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How)
3. ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why)
4. ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why)
การจัดการความรู้ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
เนื่องจากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกลำดับที่ ๕๘ ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการกำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสีภายในประเทศ รวมทั้งประสานงานและดำเนินการตามพันธกรณีกับ IAEA นับแต่นั้นมาประเทศไทยก็ได้รับความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเสมอมา รวมทั้งแนวทางการจัดการความรู้ขององค์กร ซึ่ง ปส. ได้พยายามใช้แนวทางการจัดการความรู้ของ IAEA มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานเช่นกัน ดังนี้ คู่มือปฏิบัติงานเรื่อง การจัดการความรู้ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ ๑)
องค์ความรู้ของหน่วยงานภายใน ปส.
- กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรังสี (กตส.)
- กองอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี (กอญ.)
- กองพัฒนาระบบและมาตรฐานกำกับดูแลความปลอดภัย (กพม.)
- กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.)
- สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.)
- ศูนย์ปรมาณูเพื่อสันติประจำภูมิภาค (ปสภ.)
ปส. ยึดแนวทางการจัดการความรู้ทั้งรูปแบบปฏิบัติทั่วไป และแนวทางการจัดการความรู้ของ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบภารกิจขององค์กร โดยแบ่งประเภทของความรู้ในองค์กรเป็นหมวดหมู่ตามแนวทางของ IAEA ดังนี้
Regulatory Body แบ่งเป็น 10 รายการ ดังนี้ >> สำหรับบุคลากรสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (กรุณา login) <<
- การพัฒนากฎหมายและคู่มือการปฏิบัติงาน (Development of Regulation and Guides)
- การเตรียมความพร้อมเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี (Emergency Preparedess)
- ข้อมูลสาธารณะ (Public Information)
- การตรวจและประเมิน (Review & Assessment)
- การเฝ้าระวังทางรังสีโดยอิสระ (Independent Radiological Monitoring)
- การวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
- การอนุญาต (Authorization)
- การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Developmant)
- ความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Co-operation)
- การตรวจสอบและบังคับใช้ (Inspection & Enforcement)
Supporting Title แบ่งเป็น 9 รายการ ดังนี้ >> สำหรับบุคลากรสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (กรุณา login) <<
- นโยบายและแผนงาน Policy and Planning (PLL)
- ระบบจัดการคุณภาพ Quality Management System (QMS)
- ทรัพยากรบุคคลและการจัดการองค์ความรู้ Human Resources and Knowledge Management (HRM)
- งบประมาณ Financial Resources (FNC)
- การพัฒนาการวัดผล Measurement Improvement (MIM)
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ International Relation (INT)
- เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology (IT)
- โครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure (INF)
- สภาพแวดล้อมสถานปฏิบัติงาน Workplace Environment (WEN)