- ประมวลจริยธรรม
- คณะกรรมการจริยธรรม
- กลุ่มงานจริยธรรม
- ร้องเรียนจริยธรรม
- แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
- องค์ความรู้จริยธรรม
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์)
คำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ที่ ๑๐๒/๒๕๖๔
เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานจริยธรรมและมอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงาน
---------------------------------------
ตามคำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่ ๗/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๒ เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม และมีคำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติที่ ๓๐/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
เพื่อให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติสามารถดำเนินการตามกระบวนการรักษาจริยธรรมตามข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๖ และ ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับข้อ ๔(๒) แห่งข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจึงยกเลิกคำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่ ๗/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และ ที่ ๓๐/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และจัดตั้งกลุ่มงานจริยธรรมและมอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มงานจริยธรรมสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ดังต่อไปนี้
๑. นางเพ็ญนภา กัญชนะ หัวหน้ากลุ่มงาน
๒. นางสาวกรรณิกา มณีวรรณ์ เจ้าหน้าที่
๓. นายวิระชัย จันลุน เจ้าหน้าที่
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ
๔. นายป้องนภา พึ่งทอง เจ้าหน้าที่
นิติกรปฏิบัติการ
โดยให้กลุ่มงานจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๓ ข้อ ๑๑ แห่งข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
สั่ง ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(นาเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์)
เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
คำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่ ๑๐๒/๒๕๖๔ เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานจริยธรรมและมอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
หลักการและเหตุผล
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ดำเนินการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศปท.วท.) ซึ่งนำนโยบาย แนวทางการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐ และแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๐) เพื่อสนับสนุนโยบายรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งการวิเคราะห์ทบทวนผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ มาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมุ่งเน้นแนวทางการปลุกจิตสำนึก สร้างค่านิยม ความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่บุคลากรในการเป็นผู้มีวินัย และประพฤติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต เสริมสร้างกระบวนการทำงาน/การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย การประพฤติปฏิบัติตน โดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม และปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบวินัยข้าราชการ ให้กับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๐) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗ และแผนยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐
- เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีค่านิยม จิตสำนึกและความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม จริยธรรม ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- เพื่อให้มีระบบกลไกในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ
- เพื่อประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมกันป้องกันและต่อต้านการทุจริต
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ร้อยละของผลผลิตโครงการ/กิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยละ ๘๐)
ตัวชี้วัด |
ค่าเป้าหมาย |
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ปลูกและปลุกจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริต เน้นการปรับเปลี่ยนฐานความคิดของบุคลากรในการรักษาประโยชน์สาธารณะ |
|
๑.๑) จำนวนครั้งของการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากร |
อย่างน้อย ๔ กิจกรรม |
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : พัฒนาระบบบริหารและเครื่องมือในการป้องกันการทุจริต |
|
๒.๑) ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ ปส. ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ITA) |
อย่างน้อยระดับ ๔ (คะแนน ๖๐ - ๗๙.๙๙) |
๒.๒) จำนวนของเครื่องมือในการป้องกันการทุจริต |
อย่างน้อย ๑ เครื่องมือ |
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการป้องกันการทุจริตและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับบุคลากรในองค์กร |
|
๓.๑) ร้อยละเฉลี่ยของจำนวนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมที่มีความรู้ ความเข้าใจ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด |
ร้อยละ ๗๕ |
๓.๒) จำนวนช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการรณรงค์ เผยแพร่ ด้านการป้องกันการทุจริตที่เพิ่มขึ้น |
อย่างน้อย ๑ ช่องทาง |
ตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย : ร้อยละของกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ |
ร้อยละ ๘๐ |
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม
หลักสูตรการฝึกอบรม
บทความทางวิชาการ
- เรื่อง อุทาหรณ์ก่อนทำผิด : ชู้กับวินัย
- เรื่อง ถอดบทเรียนการส่งเสริมจริยธรรม : ผลสำเร็จจากภาคเอกชนสู่การพัฒนาจริยธรรมในภาครัฐ
- เรื่อง ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
- เรื่อง การส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมเชิงจริยธรรมในองค์กร
- เรื่อง พัฒนาข้าราชการไทยให้พ้นคอรับปชั่น
- เรื่อง รวมพลังข้าราชการไทยสู้ภัยคอร์รัปชัน
- เรื่อง จริยธรรมผู้นำ : บทเรียนจากลังกาวี
- เรื่อง Case studies " ช่วยชี้ประเด็นจริยธรรม
- เรื่อง ระบบคุณธรรมของข้าราการญี่ปุ่น
- เรื่อง เมื่อข้าราชการสร้างประมวลจริยธรรม
-
- มาตรา 3 คำนิยาม หน่วยงานของรัฐ
- มาตรา 3 คำนิยาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม
- มาตรา 8 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.)
- มาตรา 19 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
- มาตรา 20 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ขององค์กรการบริหารงานบุคคล
- มาตรา 76 วรรค 3 และ 219 มาตรฐานทางจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 1 : ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมาหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 2 : ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 3 : กล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 4 : คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 5 : มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 6 : ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 7 : ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
- วีดิทัศน์
- ตอนที่ 1 ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ
- ตอนที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- ตอนที่ 3 ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม
- ตอนที่ 4 ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
- ตอนที่ 5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ตอนที่ 6 ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- ตอนที่ 7 ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
- สปอตโทรทัศน์
- ตอนที่ 1 ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ
- ตอนที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- ตอนที่ 3 ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม
- ตอนที่ 4 ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
- ตอนที่ 5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ตอนที่ 6 ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- ตอนที่ 7 ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
ช่องทางร้องเรียนได้โดยตรง
กลุ่มงานจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 02 596 7600 ต่อ 1304-1309