สารบัญ

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

นิยามความเสี่ยง

       คำจำกัดความของคำว่า "ความเสี่ยง" (Risk) ต่างกันไปตามความเชี่ยวชาญและอาชีพของผู้ให้คำจำกัดความแตกต่างกันไปตามมุมมองของตน แต่แก่นของความหมายของคำว่า "ความเสี่ยง" ที่เหมือนกัน คือ ความไม่แน่นอน (หรือโอกาส) ที่อาจนำไปสู่ความสูญเสียหรือการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ความไม่แน่นอนของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอาจนำไปสู่การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจึงนับว่าเป็นความเสี่ยง ความไม่แน่นอนของผลผลิตทางการเกษตร หรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดพายุหนักซึ่งอาจทำให้โครงการต้องหยุดชะงักก็นับเป็นความเสี่ยง เป็นต้น

  • ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต และอาจส่งผลกระทบในด้านลบที่ไม่ต้องการ ดังนั้น การตัดสินใจกระทำการใด ๆ โดยไม่มีข้อมูล หรือไม่มีการวางแผนใด ๆ จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการเสี่ยงตัดสินใจในสภาวะของความเสี่ยง (สำนักงาน ก.พ.ร.., มปท.)
  • การเสี่ยง หมายถึง การตัดสินใจที่จะดำเนินการ (หรือไม่ดำเนินการ) สิ่งใดสิ่งหนึ่งบนพื้นฐานของการขาดข้อมูลที่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน เป็นเพียงการประมาณการ การคาดเดา การต้ังความหวัง ซึ่งผลของการตัดสินใจนั้น อาจเป็นไปตามความคาดหมายหรือตรงกันข้ามก็ได้ เช่น การเสี่ยงโชคพนัน การเสี่ยงอันตราย เป็นต้น (สำนักงาน ก.พ.ร.., มปท.)
  • ารบริหารความเสี่ยง (Risk Management) คือ กระบวนการที่ทุกคนในองค์การไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับใด หรือบุคลากรในงานส่วนไหนต่างต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการหาและให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการคาดการณ์ เพื่อการตัดสินใจในการเลือกยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมาย จัดทำแผนงาน และจัดสรรงบประมาณในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเป้าหมายเพื่อที่จะให้การปฏิบัติงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ หรือลดผลกระทบของความเสียหาย (หรือผลกระทบ) ที่อาจเกิดขึ้นอันจะมีผลต่อความสูญเสียขององค์กร ดังนั้น การจัดการความเสี่ยง จึงเป็นการบริหารภายในขอบเขตที่ผู้ที่เกี่ยวข้องยอมรับความเสี่ยงได้เท่านั้น มิใช่การบริหารความเสี่ยงเพื่อขจัดความเสี่ยงในการบริหาร การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นกระบวนการที่มุ่งสู่การตัดสินใจภายใต้สภาวะที่มีความเสี่ยงตามข้อมูลที่ได้รับกับการตัดสินใจภายใต้สภาวะที่มีความไม่แน่นอนของปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ (นฤมล  สอาดโฉม, การบริหารความเสี่ยง (Risk Management). สำนักงาน ก.พ.ร.., 2552)

ความแตกต่างระหว่าง "ความเสี่ยง (Risk)" กับ "ปัญหา (Problem)" 

  • ความเสี่ยง (Risk) เป็นการมองไปข้างหน้า เป็นการคาดการณ์ในอนาคต โดยการนำหลักฐานเชิงประจักษ์หรือข้อมูลหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษา วิเคราะห์ สาเหตุและผลกระทบของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมกำหนดแนวทางการลด/ควบคุมความเสี่ยง เมื่อได้มีการจัดการแก้ไขอย่างเป็นระบบแล้วจะส่งผลให้ลดโอกาสที่อาจจะเกิดรายการความเสี่ยงและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับรายการความเสี่ยงนั้น ๆ 
  • ปัญหา (Problem) เป็นการมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และยังคงเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหา ซึ่งหากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขหรือแก้ไขไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมา และอาจทำให้ปัญหาดังกล่าวนั้นกลายเป็นความเสี่ยงขึ้นได้ ส่วนการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นกระบวนการบริหารจัดการองค์กรโดยมีการวางแผนป้องกันและรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ประเภทของความเสี่ยง

      สำนักงานปรมาณูเพือสันติได้กำหนดกรอบในการบริหารความเสี่ยง แบ่งตามประเภทของความเสี่ยงไว้ 4 ประเภท ดังนี้

  • ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ (Strategic Risk) เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายและพันธกิจในภาพรวม โดยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเหตุการณ์ภายนอก ส่งผลต่อกลยุทธ์ที่กำหนดไว'ไม่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์/วิสัยทัศน์ หรือเกิดจากกลยุทธ์ที่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนหรือการร่วมมือกับองค์การอิสระ ทำให้โครงการขาดการยอมรับ และโครงการไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือการตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง หรือเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจผิดพลาดหรือนำการตัดสินใจนั้นมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง

  • ความเสี่ยงด้านกฎหมาย และกฎระเบียบ (Compliance Risk) เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบต่างๆ โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงเนื่องจากความไม่ชัดเจน ความไม่ทันสมัย หรือความไม่ครอบคลุมของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ รวมถึงการทำนิติกรรมสัญญา การร่างสัญญาที่ไม่ครอบคลุมการดำเนินงาน

  • ความเสี่ยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Risk) ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่คาดหวังหรือไม่คาดหวัง อันเนื่องมาจากการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ซึ่งมีผลกระทบถึงระบบงานและการปฏิบัติงาน

  • ความเสี่ยงการปฏิบัติงาน (Operational Risk) เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือผลการปฏิบัติงาน โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงเนื่องจากระบบงานภายในขององค์การ/กระบวนการ/เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้/บุคลากร/ความเพียงพอของข้อมูล ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน 

การบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

นโยบายบริหารความเสี่ยง

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน

แผนบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลของแผนงาน-โครงการที่สำคัญ

รายงานผลการบริหารความเสี่ยง

         รายงานผลการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รอบ 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

 

 

Search