การจัดการองค์ความรู้ (KM)

ปส. ยึดแนวทางการจัดการความรู้ทั้งรูปแบบปฏิบัติทั่วไป และแนวทางการจัดการความรู้ของ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบภารกิจขององค์กร
โดยแบ่งประเภทของความรู้ในองค์กรเป็นหมวดหมู่ตามแนวทางของ IAEA ดังนี้

การจัดการองค์ความรู้ (KM)

การจัดการความรู้ (Knowledge Management – KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบแลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้ และปัญญาในที่สุด
ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge)
ระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
1. ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What)  
2. ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How)  
3. ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why)  
4. ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) 

การจัดการความรู้ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

เนื่องจากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกลำดับที่ ๕๘ ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการกำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสีภายในประเทศ รวมทั้งประสานงานและดำเนินการตามพันธกรณีกับ IAEA นับแต่นั้นมาประเทศไทยก็ได้รับความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเสมอมา รวมทั้งแนวทางการจัดการความรู้ขององค์กร ซึ่ง ปส. ได้พยายามใช้แนวทางการจัดการความรู้ของ IAEA มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานเช่นกัน ดังนี้ คู่มือปฏิบัติงานเรื่อง การจัดการความรู้ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ ๑)

องค์ความรู้ของหน่วยงานภายใน ปส.

กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรังสี (กตส.)
กองอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี (กอญ.)
กองพัฒนาระบบและมาตรฐานกำกับดูแลความปลอดภัย (กพม.)
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.)
สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.)
ศูนย์ปรมาณูเพื่อสันติประจำภูมิภาค (ปสภ.)

Regulatory Body

แบ่งเป็น 10 รายการ

Supporting Title

แบ่งเป็น 9 รายการ

ผลการดำเนินงาน

Skip to content