กองตรวจสอบทางนิวเคลียร์และรังสี
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. ปฏิบัติงานสารบรรณ และธุรการ
2. ดำเนินการด้านแผนงาน และติดตามผล
3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานการคลังและพัสดุ การเงิน และงบประมาณ
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มตรวจสอบทางนิวเคลียร์ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. กำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมาย และเงื่อนไขใบอนุญาต
2. สนับสนุนข้อมูลด้านการตรวจสอบทางนิวเคลียร์ เพื่อประกอบการอนุญาตทางนิวเคลียร์
3. กำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินการจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว และการจัดการกากกัมมันตรังสีของสถานให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี
4. ดำเนินการด้านการพิทักษ์ความปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์ และการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
5. ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบระบบ อุปกรณ์และการบริหารจัดการความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์
6. จัดทำและปรับปรุงคู่มือและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบทางนิวเคลียร์ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
7. สนับสนุนข้อมูลและข้อคิดเห็นในด้านการตรวจสอบทางนิวเคลียร์ สำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณี และในการจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มตรวจสอบเครื่องกำเนิดรังสี มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. ตรวจสอบ ติดตามและประเมินมาตรฐานความปลอดภัยการดำเนินการของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีที่ทำ ใช้งานหรือครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี และกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งเงื่อนไขในใบอนุญาต
2. สนับสนุนข้อมูลด้านการตรวจสอบเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อประกอบการอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสี
3. ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบความปลอดภัยการใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี (รองรับเทคโนโลยียุคใหม่)
4. ตรวจสอบการจัดการเครื่องกำเนิดรังสีที่เลิกใช้งานและจัดการเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์
5. ตรวจสอบการจัดทำทะเบียนเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลการกำกับดูแลให้ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
6. ตรวจสอบการจัดการวัสดุปนเปื้อน หรือกากกัมมันตรังสี หรือ Activated product ที่เกิดจากเครื่องซินโครตรอน ไซโคลตรอน และเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูง
7. จัดทำและปรับปรุงคู่มือและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบเครื่องกำเนิดรังสี ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
8. สนับสนุนข้อมูลและข้อคิดเห็นในด้านการตรวจสอบเครื่องกำเนิดรังสี สำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณี และในการจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มตรวจสอบวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางอุตสาหกรรม มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามและประเมินมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยการดำเนินการของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีที่ใช้วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ในทางอุตสาหกรรมและกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายรวมทั้งเงื่อนไขในใบอนุญาต
2. สนับสนุนข้อมูลจากการตรวจสอบวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางอุตสาหกรรม เพื่อประกอบการอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ในทางอุตสาหกรรม
3. ตรวจสอบการจัดการกากกัมมันตรังสีของสถานประกอบการทางอุตสาหกรรม
4. ตรวจสอบการจัดทำทะเบียนวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางอุตสาหกรรม เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลการกำกับดูแลให้ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
5. ตรวจสอบการเคลื่อนย้าย การขนส่งของวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางอุตสาหกรรม
6. ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยด้านอุตสาหกรรม
7. จัดทำและปรับปรุงคู่มือและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ในทางอุตสาหกรรม ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
8. สนับสนุนข้อมูลและข้อคิดเห็นในด้านการตรวจสอบทางอุตสาหกรรม สำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณี และในการจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มตรวจสอบวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางการแพทย์และศึกษาวิจัย มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามและประเมินมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยการดำเนินการของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และรังสีที่ใช้วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ในทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย และกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งเงื่อนไขในใบอนุญาต
2. สนับสนุนข้อมูลจากการตรวจสอบวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางการแพทย์และศึกษาวิจัย เพื่อประกอบการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสีในทางการแพทย์และศึกษาวิจัย
3. ตรวจสอบการจัดการกากกัมมันตรังสีของสถานประกอบการทางการแพทย์และศึกษาวิจัย
4. ตรวจสอบการจัดทำทะเบียนวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลการกำกับดูแลให้ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
5. ตรวจสอบการเคลื่อนย้าย การขนส่งของวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางการแพทย์และศึกษาวิจัย
6. ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางด้านการแพทย์และศึกษาวิจัย
7. จัดทำและปรับปรุงคู่มือและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทางด้านการแพทย์และการศึกษาวิจัย ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
8. สนับสนุนข้อมูลและข้อคิดเห็นในด้านการตรวจสอบทางการแพทย์และศึกษาวิจัย สำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณี และในการจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
1. ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน ในการตอบสนองเหตุความมั่นคงและเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ตามแผนปฏิบัติการระงับเหตุในความรับผิดชอบของสำนักงาน
2. จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน ประสานงานและสนับสนุนการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีระดับประเทศ
3. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับนิวเคลียร์และรังสี ให้กับหน่วยงานปฏิบัติส่วนหน้าและหน่วยเผชิญเหตุ ในการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน หรือภารกิจหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์และรังสี
4. เตรียมความพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์และพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการฝึกซ้อมการปฏิบัติหน้าที่ในการตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี
5. บริหารจัดการเหตุความมั่นคงปลอดภัยและเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี และเสนอแนะแนวปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. จัดทำ พัฒนา ปรับปรุง คู่มือ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
7. ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นตามพันธกรณีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีทั้งภายในและต่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนข้อคิดเห็น สำหรับการปฏิบัติตามพันธกรณี และในการจัดทำมาตรฐาน ข้อกำหนด และระเบียบที่เกี่ยวข้อง