กลุ่มจริยธรรม

คำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ที่ ๑๐๒/๒๕๖๔

เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานจริยธรรมและมอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงาน

ในกลุ่มงานจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
—————————————
ตามคำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่ ๗/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๒ เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม และมีคำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติที่ ๓๐/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
เพื่อให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติสามารถดำเนินการตามกระบวนการรักษาจริยธรรมตามข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓๖ และ ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับข้อ ๔(๒) แห่งข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจึงยกเลิกคำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่ ๗/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และ ที่ ๓๐/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และจัดตั้งกลุ่มงานจริยธรรมและมอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มงานจริยธรรมสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ดังต่อไปนี้

๑. นางเพ็ญนภา กัญชนะ                                  หัวหน้ากลุ่มงาน
                                รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ                               
๒. นางสาวกรรณิกา มณีวรรณ์                               เจ้าหน้าที่
เลขานุการกรม                                           
๓. นายวิระชัย จันลุน                                                 เจ้าหน้าที่
                                           นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ                                             
๔. นายป้องนภา พึ่งทอง                                           เจ้าหน้าที่
นิติกรปฏิบัติการ                                    

โดยให้กลุ่มงานจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๓ ข้อ ๑๑ แห่งข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

สั่ง ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

               (นาเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์)
               เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ


คำสั่งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่ ๑๐๒/๒๕๖๔ เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานจริยธรรมและมอบหมายให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มจริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ


ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

เรื่อง ตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

———————————-

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

พ.ศ. ๒๕๕๑ และข้อ ๖ ของข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ประกอบมติ ก.พ. ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ มอบหมายให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาและลงนามในประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม แทนประธาน ก.พ. จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติมีหน้าที่และอำนาจตามข้อ ๗ ของข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ 

๑. นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ ประธานกรรมการ

๒. นางดารุณี พีขุนทด                    กรรมการ

๓. นายภานุพงศ์ พินกฤษ                กรรมการ

๔. นางสาวชลาทิพย์ เกื้อกอบ         กรรมการ

๕. นายพงศ์กฤษณ์ ศิริภิรมย์           กรรมการ

๖. นางรัชดา เหมปฐวี                    กรรมการ

๗. นางเพ็ญนภา       กรรมการและเลขานุการ

ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

                          (นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์)

                         เลขาธิการ ก.พ.

แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

หลักการและเหตุผล

         สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ดำเนินการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศปท.วท.) ซึ่งนำนโยบาย แนวทางการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐ และแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๐)  เพื่อสนับสนุนโยบายรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น  รวมทั้งการวิเคราะห์ทบทวนผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙  มาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐  โดยมุ่งเน้นแนวทางการปลุกจิตสำนึก สร้างค่านิยม ความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่บุคลากรในการเป็นผู้มีวินัย และประพฤติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต เสริมสร้างกระบวนการทำงาน/การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย การประพฤติปฏิบัติตน โดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม และปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบวินัยข้าราชการ ให้กับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๐)  มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗ และแผนยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐ 
  • เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีค่านิยม จิตสำนึกและความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม จริยธรรม ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • เพื่อให้มีระบบกลไกในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ
  • เพื่อประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมกันป้องกันและต่อต้านการทุจริต

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

      ร้อยละของผลผลิตโครงการ/กิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยละ ๘๐)

ตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ ๑  :  ปลูกและปลุกจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริต เน้นการปรับเปลี่ยนฐานความคิดของบุคลากรในการรักษาประโยชน์สาธารณะ
๑.๑) จำนวนครั้งของการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากรอย่างน้อย ๔ กิจกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ ๒  :  พัฒนาระบบบริหารและเครื่องมือในการป้องกันการทุจริต 
๒.๑) ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ ปส. ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐  (ITA)     อย่างน้อยระดับ ๔(คะแนน ๖๐ – ๗๙.๙๙)
๒.๒) จำนวนของเครื่องมือในการป้องกันการทุจริต อย่างน้อย ๑ เครื่องมือ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓  :  เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการป้องกันการทุจริตและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับบุคลากรในองค์กร 
๓.๑)  ร้อยละเฉลี่ยของจำนวนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมที่มีความรู้ ความเข้าใจ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  ร้อยละ ๗๕
๓.๒)  จำนวนช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการรณรงค์ เผยแพร่ ด้านการป้องกันการทุจริตที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๑ ช่องทาง
ตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย  :  ร้อยละของกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ                             และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ร้อยละ ๘๐

แผนปฏิบัติการด้านจริยธรรมของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๖ – ๒๕๖๘

ประกาศเจตจำนง
เจตจำนงสุจริต
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
แผนปฏิบัติการป้องการทุจริตและประพฤติมิชอบ
แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม
หลักสูตรการฝึกอบรม
บทความทางวิชาการ
มาตรฐานทางจริยธรรม
Skip to content