ลปส. เสนอจัดตั้ง Nuclear Technology Consortium พัฒนาขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ของไทย

           รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุม “การจัดทำกรอบนโยบายการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านกายภาพ” ณ ห้องกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผ่านการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม สำหรับจัดทำกรอบนโยบายการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรอบแนวคิดของ (ร่าง) ยุทธศาสตร์และแผนการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2568 – 2570 ต่อไป

โดยฝ่ายเลขานุการฯ ได้กำหนดหัวข้อในการประชุมฯ เป็น 8 กลุ่ม ประกอบด้วย

  1. Carbon neutrality
  2. Electric Vehicle (EV)
  3. PM 2.5
  4. Advanced semiconductor
  5. Quantum
  6. Earth and Space Sciences
  7. High Energy Physics
  8. Nuclear Technology

โดย ปส. อยู่ในกลุ่มของ Nuclear Technology ซึ่งมีการแบ่งกรอบออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย

  1. โครงสร้างพื้นฐาน : ดำเนินการพัฒนาระบบวัดปริมาณรังสีมาตรฐานของประเทศ จากระดับทุติยภูมิไปเป็นระดับปฐมภูมิ
  2. การรับถ่ายทอดเทคโนโลยี และการต่อยอดเทคโนโลยี : ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพด้านนิวเคลียร์และรังสีด้านความรู้พื้นฐานด้านการป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์และรังสี
  3. ทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่และที่ต้องการ : การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี
  4. การใช้ประโยชน์ : การใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ด้านเกษตรและอาหาร ด้านอุตสาหกรรมเพื่อการตรวจสอบฯ เป็นต้น

ทั้งนี้ รศ.ดร.พาสิทธิ์ เสนอให้มีการจัดตั้ง Nuclear Technology Consortium โดยเน้นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูล (Small Modular Reactor ;SMR) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ และการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศไทยต่อไป

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เผยแพร่โดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม เบอร์โทรศัพท์ภายใน 1110 , 1120

Skip to content