- งานอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสีและวัดสุนิวเคลียร์
- การแจ้งข้อเท็จจริงการใช้ใบอนุญาต
- งานอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสี
- งานอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
หมวด1-การสมัครทดสอบความรู้ - งานอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
หมวด2-การยื่นขอต่ออายุใบอนุญาต - งานอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
หมวด3-ใบอนุญาตชำรุด หาย ถูกทำลาย - การขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี มีหลักเกณฑ์ใดบ้าง
งานอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสีและวัดสุนิวเคลียร์
ช่องทางการยื่นคำขออนุญาตฯ มี 3 ช่องทาง
1. ด้วยตนเอง ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ
2. ทางไปรษณีย์ นำส่ง ณ
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900
3. ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ oss@oap.go.th
แบบคำขออนุญาตวัสดุกัมมันตรังสี มี 2 แบบ ดังนี้
แบบ ปส 1ก สำหรับขออนุญาตผลิต ครอบครอบหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี
แบบ ปส 3ก สำหรับขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกวัสดุกัมมันตรังสี
หมายเหตุ:
หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบคำขออนุญาตและตัวอย่างการกรอกแบบคำขอและตัวอย่างเอกสารประกอบ
แบบคำขออนุญาตวัสดุนิวเคลียร์ มี 2 แบบ ดังนี้
แบบ ปส 1ข สำหรับขออนุญาตผลิต ครอบครอบหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์
แบบ ปส 3ข สำหรับขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกวัสดุนิวเคลียร์
หมายเหตุ:
หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบคำขออนุญาตและตัวอย่างการกรอกแบบคำขอและตัวอย่างเอกสารประกอบ
ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีอย่างน้อยหนึ่งคนแบ่งตามประเภทใบอนุญาตและประเภทของวัสดุกัมมันตรังสี ดังนี้
1. ใบอนุญาตผลิตวัสดุกัมมันตรังสีทุกประเภท ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงเท่านั้น
2. ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 1 ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงเท่านั้น
3. ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 2 และ 3 หรือวัสดุกัมมันตรังสีชนิดไม่ปิดผนึกทุกประเภท ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป
4. ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 4 ชนิดปิดผนึก ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับต้นขึ้นไป
5. ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 5 ชนิดปิดผนึก ไม่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
หมายเหตุ: อ้างอิงตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2564 และ ระเบียบคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ว่าด้วยความรับผิดชอบและสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2564
ประเภทใบอนุญาตและประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม รายละเอียดดังนี้
– ใบอนุญาตผลิตวัสดุกัมมันตรังสีทุกประเภท
– ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก ใบแทนใบอนุญาต การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบอนุญาต สำหรับวัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 ประเภทที่ 3 และประเภทที่ 4
หมายเหตุ: อัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. 2564 เนื่องจากกฎกระทรวงการอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสียังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับใบอนุญาตนำผ่าน ปัจจุบันการนำผ่านจะดำเนินการออกใบอนุญาตทั้งหมด 3 ฉบับ คือ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ และใบอนุญาตส่งออก และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ประเภทใบอนุญาตและประเภทวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม รายละเอียดดังนี้
ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก ใบแทนใบอนุญาต การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบอนุญาต สำหรับวัสดุต้นกำลัง วัสดุนิวเคลียร์พิเศษประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3
หมายเหตุ: อัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. 2564 เนื่องจากกฎกระทรวงการอนุญาตวัสดุกัมมันตรังสียังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับใบอนุญาตนำผ่าน ปัจจุบันการนำผ่านจะดำเนินการออกใบอนุญาตทั้งหมด 3 ฉบับ คือ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ และใบอนุญาตส่งออก และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
กฎกระทรวงเกี่ยวกับการกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ยังไม่มีผลบังคับใช้ ทำให้วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ทุกประเภทยังต้องขออนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้
หมายเหตุ: อ้างอิงกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไข วิธีการขอรับใบอนุญาต และการดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุต้นกำลัง วัสดุพลอยได้ หรือพลังงานปรมาณู พ.ศ. 2550
สามารถติดต่อมายังเบอร์ 02 5967600 ต่อ 1509 15010 และ 1512 หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ license@oap.go.th
สามารถติดต่อมายังเบอร์ 02 5967600 ต่อ 1107
หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ oss@oap.go.th
ทั้งนี้กรณีท่านยื่นเอกสารไม่ครบถ้วนหรือยังขาดในส่วนเจ้าหน้าที่ RSO ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจะยังไม่ออกใบอนุญาตให้ท่านจนกว่าจะยื่นหลักฐานประกอบการพิจารณาครบถ้วน
ปกติหลังพิจารณาพบว่าเอกสารไม่ครบถ้วนสมบูณ์ เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาทางเทคนิคจะร้องขอให้ส่งเอกสารภายใน 30 วัน กรณีไม่ส่งเอกสารเพิ่มเติมภายใน 30 วัน เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาทางเทคนิค อาจจะพิจารณาคืนคำขอฯ ทั้งชุด เพื่อให้ไปเตรียมเอกสารใหม่ เริ่มต้นใหม่
การแจ้งข้อเท็จจริงการใช้ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์
การแจ้งข้อมูลการอนุญาตนำเข้า-ส่งออก วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ ของ ปส. ร่วมกับข้อมูลรายละเอียดสินค้า (Invoice) ให้กับกรมศุลกากร ผ่านระบบ National Single Window (NSW)
ใบรับรองสำหรับการนำเข้า-ส่งออก ที่มีข้อมูลการอนุญาตของ ปส. + ข้อมูลรายการสินค้า ที่ส่งผ่านระบบ NSW ให้กับกรมศุลกากร หรือเรียกว่าใบ LPI (License Per Invoice)
ลดระยะเวลา ลดขั้นตอนการดำเนินการการนำเข้าส่งออกตามแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย และ ปส. อยู่ในประเภทสินค้าอันตรายที่จะต้องผลักดันการนำเข้า-ส่งออก ให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 100%ตามแผน และ ปส. ต้องรายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการทราบทุกปี
ไม่ได้ เนื่องจาก ปส. แจ้งให้การแสดงข้อมูลการอนุญาตต้องดำเนินการผ่านระบบ NSW เท่านั้น ซึ่งกรมศุลกากรทราบและตรวจสอบสินค้า Class 7 ทั้งหมด โดยอ้างอิงข้อมูลใบอนุญาตของ ปส. ผ่านระบบ NSW ตั้งแต่ มิถุนายน 2562 เป็นต้นมา
ผู้รับใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก วัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุเคลียร์ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
ผู้รับใบอนุญาตแจ้งข้อเท็จจริงเองได้ หรือจะมอบอำนาจให้กับบุคคลอื่นทำแทนได้ เช่น Shipping หรือบริษัทที่รับดำเนินการแทนตั้งแต่การขออนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก สามารถสมัครใช้บริการได้ตั้งแต่วันที่ยื่นขอรับใบอนุญาต โดยเฉพาะผู้ที่ขอรับใบอนุญาตครั้งแรกต้องดำเนินการสมัครใหม่ ควรเตรียมการสมัครและทราบวิธีการใช้งานระบบก่อนการนำเข้า-ส่งออก เพื่อเตรียมพร้อม ตรวจสอบข้อมูลจากระบบ และการอนุมัติการใช้บริการจากเจ้าหน้าที่ ปส. ใช้เวลาการสมัครไม่เกิด 10 นาที และเจ้าหน้าที่ ปส. จะอนุมัติสิทธิภายใน 1-2 วัน
สมัครเข้าใช้ระบบได้ที่ epermit.oap.go.th
แนะนำการแจ้งข้อเท็จจริงและคู่มือการใช้ระบบ download ได้ที่ www.oap.go.th/services/per-invoice
ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก ได้รับการอนุญาตแล้วมีเลขที่ใบอนุญาต เช่น 6IXXX/000E, 6MXX/000I และมีข้อมูลรายการสินค้า Invoice เมื่อมีข้อมูลทั้ง 2 ส่วนแล้ว สามารถเข้าระบบแจ้งข้อเท็จจริง เพื่อทำใบ LPI ได้ทันที
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนและส่งคำขอไปยังศุลกากรผ่านระบบแล้ว ระบบจะตรวจสอบอัตโนมัติและแจ้งผลกลับภายใน 5 นาที สามารถแจ้งข้อเท็จจริงได้ 24 ชม. 7 วัน ไม่มีวันหยุด
สามารถทำสำเนาใบ LPI ฉบับใหม่ แล้วกรอกข้อมูล แก้ไขให้ถูกต้อง แล้วส่งไปกรมศุลกากรใหม่ได้ทันที
เมลแจ้งได้ที่ data@oap.go.th หรือโทร 0 2596 7600 ต่อ 1501-1502
งานอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสี
เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานเกินกว่า 5 KeV หรือ 5 KV
มี 3 แบบ คือ การแจ้งมีไว้ในครอบครอง การอนุญาตมีไว้ในครอบครอง และได้รับการยกเว้นการควบคุม
หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเครื่องกำเนิดรังสี
> กระทรวงสาธารณสุข ดูแลเครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้ในงานรังสีวินิจฉัย เช่นเครื่องกำเนิดรังสที่ใช้ในโรงพยาบาล คลินิกต่างๆ คลินิกฟัน คลีนิครักษาสัตว์
> ปส. ดูแลเครื่องกำเนิดรังสีที่มีความเสี่ยงสูง เครื่องเร่งอนุภาค งานรังสีรักษา เครื่องกำเนิดรังสีในงานด้านอุตสากรรม ศึกษาวิจัย
– เครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้ในรพ.
– เอกเรย์ฟัน
– เครื่อง x ray ในคลินิกรักษาสัตว์
– รถเอกเรย์เคลื่อนที
เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานเกินกว่า 1 MeV เครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษา เครื่องกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดมิดชิด เครื่องถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์แบบเคลื่อนที่
ระยะเวลาอนุญาต
ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีมีอายุใบอนุญาต 5 ปีเมื่อครบ 5 ปีต้องมาดำเนินการต่ออายุใบอนุญาต
ใบแจ้งการครอบครอง ให้แจ้งการครอบครองเพียงครั้งเดียว และแจ้งอีกครั้งตอนที่ยกเลิกการใช้งาน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
ใบอนุญาต ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวงศักยภาพในการครอบครองเครื่องกำเนิดรังสีกลุ่ม 1 ระดับสูง ยกเว้นเครื่องเร่ง อนุภาคด้านความปลอดภัย กลุ่มสองระดับกลาง
ใบรับแจ้ง ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางปส. โดยควรมีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้เป็นผู้ดูแล
รายงานการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสี ตามระยะเวลาที่กำหนด กลุ่ม 1 ทุกปี กลุ่ม 2 ทุก 2 ปี
กรณีที่มีการเพิ่มขึ้น ลงของเครื่องฯระหว่างปี ให้รายงานการเพิ่มขึ้นลดลง ระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคมของทุกปี
รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องกำเนิดรังสีเป็นประจำทุก 2 ปี
1. กรณีเครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่มที่ต้องขออนุญาตครอบครอง ให้ดำเนินการขออนุญาตนำเข้าและครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี รายละเอียดสามารถดูได้จากทาง https://www.oap.go.th/regulation/
2. กรณีที่เป็นเครื่องในกลุ่มแจ้งครอบครองและใช้ ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า แต่เมื่อนำเข้ามาแล้วต้องมาแจ้งการครอบครองภายใน 30 วันนับจากวันที่นำเข้า
เครื่องกำเนิดรังสีที่มีพลังงานสูงสุดของรังสีที่เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์หรือเครื่องกำเนิดรังสีที่อุปกรณ์กำเนิดรังสีภายในทำงำนที่ความต่ำงศักย์ต่ำกว่า 1 เมกะโวลต์ที่มีลักษณะกำรใช้งานปิดมิดชิดและไม่ได้ใช้งานกับคน https://drive.google.com/file/d/1quRo4J2i36ggcE6umBC50i3BjEq6M6Az/view
ครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี
– เอกสารแสดงคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดรังสี
ครอบครองและใช้เครื่องกำเนิดรังสี
– เอกสารแสดงคุณลักษณะของเครื่อง
– เอกสารแสดงการใช้งานอุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสรประจำตัวบุคคล
– เอกสารรายงานการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของเครื่อง
ไม่จำเป็น แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดูแล
ทางหน่วยงานไม่ต้องดำเนินการเรื่องต่ออายุ ทางปส.อยู่ระหว่างรอให้ใบรับแจ้งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเรียบร้อยแล้วทางปส.จะรีบดำเนินการส่งใบรับแจ้งใบใหม่ไปให้ แทนใบอนุญาตที่ใกล้หมดอายุ
หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ หน่วยงานราชการ สภากาชาดไทย
ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี
– เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท (1 ฉบับ 1 เครื่อง)
– เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท (1 ฉบับ 1 เครื่อง)
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ต้องชำระค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฉบับละ 100 บาท
หน่วยงานต้องดำเนินการขออนุญาตนำเข้าและครอบครองเครื่องกำเนิดรังสี โดยมีค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตดังนี้
ใบอนุญาตนำเข้าเครื่องกำเนิดรังสี
(ก) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท
(ข) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท
ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี
(ก) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท
(ข) เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท
ติดต่อ one stop service โทร 02 596 7600 ต่อ 1100
Email : oss@oap.go.th
กลุ่มใบอนุญาตเครื่องกำเนิดรังสี 02 5967600 ต่อ 1106
ให้ทำหนังสือแจ้งการยกเลิกระบุเหตุผลพร้อมเอกสารประกอบ รายละเอียดตาม https://www.oap.go.th/services/1 ตัวอย่าง หนังสือขอยกเลิกเครื่องกำเนิดรังสี (ทั้งฉบับ)
– ยื่นด้วยตนเองที่ one stop service ปส.
– ทางไปรษณีย์
– ทางอีเมล : oss@oap.go.th
– สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ Call Center: โทร. 0 2401 9885 หรือ 0 2401 9889 ต่อ 5995
– กรมวิทยาศาสาตร์การแพทย์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ประจำภูมิภาค
ใบอนุญาตฯ ใช้เวลาไม่เกิน 45 วัน นับแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
ใบรับแจ้งฯ ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
จากการพิจารณาแล้วเครื่องกำเนิดรังสีของเครื่องกำเนิดรังสีในกลุ่ม เครื่องกำเนิดรังสีที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2563 หมดอายุ 6 เมษายน 2565 ทางหน่วยงานไม่ต้องดำเนินการเรื่องต่ออายุ ทางปส.อยู่ระหว่างรอให้ใบรับแจ้งประกาศในราชกิจจานุเษกษา เมื่อเรียบร้อยแล้วทางปส.จะรีบดำเนินการส่งใบรับแจ้งใบใหม่ไปให้ แทนใบอนุญาตที่ใกล้หมดอายุ ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ( auditor) สามารถอ้างพรบ. นิวเคลียร์ พศ 2562 มาตรา 26 ได้
ในกรณีที่หน่วยงานมีใบรับแจ้งมีไว้ในครอบครองและใช้เครื่องกำเนิดรังสี ระหว่างการครอบครองต้องดำเนินการดังนี้
1. ระหว่างปี กรณีที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเครื่องกำเนิดรังสี ให้แจ้งการเพิ่มขึ้น-ลดลงของเครื่องกำเนิดรังสีทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี (สามารถแจ้งยกเลิกเครื่องในคราวเดียวกัน)
2. ทุก 2 ปี ให้จัดส่งรายงานการตรวจสอบความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสีให้สำนักงานทราบ
ตามที่เอกสารแนบของทางบริษัท จากการตรวจสอบเครื่องดังดังกล่าวเป็นเครื่องดังกล่าวอยู่ในเครื่องตามกฏกระทรวงการแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๖/๒ ซึ่งไม่ต้องชออนุญาต แต่ให้ดำเนินการแจ้งการมีไว้ในครอบครองตามกฎกระทรวงฯ ในกรณีที่ทางหน่วยงานมีใบอนุญาตฯครอบตรองอยู่แล้ว ให้ถือว่าได้แจ้งการมีไว้ครอบครองแล้ว ตามมาตรา ๒๖ พรบ.พลังงานนิวเคลียร์ ตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๒๖ ให้ใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้ซึ่งพลังงานปรมาณูจากเครื่องกาเนิดรังสีที่ได้ให้ไว้ตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๔๙ ๒๕๖๒ ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีที่ได้ให้ไว้ตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ สาหรับเครื่องกาเนิดรังสีตามมาตรา ๒๖/๑ และมาตรา ๒๖/๒ แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ ถือเป็นใบรับแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีตามมาตรา ๒๖/๑ หรือมาตรา ๒๖/๒ แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๕๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
ทังนี้ ปส.อยู่ระหว่างรอให้ใบรับแจ้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาและการดำเนินการจัดทำใบรับแจ้งการมีไว้ในครอบครองและใช้เครื่องกำเนิดรังสี ส่งให้หน่วยงานอยู่ ในกรณีที่หน่วยงานยังไม่ได้รับฯให้ใช้ใบอนุญาตที่มีอยู่เป็นไปรับแจ้งไปพลางก่อน
เครื่องดังกล่าวอยู่ในเครื่องตามกฏกระทรวงการแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกาเนิดรังสีที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๖/๒ ซึ่งไม่ต้องชออนุญาต แต่ให้ดำเนินการแจ้งการมีไว้ในครอบครองตามกฎกระทรวง ทั้งนี้แบบคำขออยู่ระหว่างดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงขอให้ใช้ปส.1ค ไปพลางก่อน ครับเครื่องแจ้งไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
งานอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
หมวดที่ 1: การสมัครทดสอบความรู้ความสามารถเพื่อขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
สมัครทดสอบ RSO .ระดับกลาง ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี ไม่ต้องสมัครทดสอบภาคปฏิบัติ
ค่าธรรมเนียมมี 2 ค่าธรรมเนียมค่าธรรมเนียมสมัครทดสอบ ต้องชำระก่อนประกาศผู้มีสิทธิ์ทดสอบอย่างน้อย 3 วันมิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธ์
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต RSO ต้องชำระภายใน 30 วันเมื่อได้รับแจ้งว่าจะได้รับใบอนุญาต RSO หลังยื่นคำขอรับใบอนุญาตทุกต้องครบด้วย
1. ต้องเป็นรูปถ่ายมาตรฐานสำหรับปรากฏบนบัตรใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
2. มาตรฐานรูปถ่ายต้องมีลักษณะดังนี้ต้องได้สัดส่วน
2.1 ต้องเป็นรูปถ่ายสี พื้นหลังสีฟ้าเท่านั้น (ห้ามตกแต่งพื้นหลังแบบไล่เฉดสี)
2.2 ขนาด 2.5 ซม. X 3.0 ซม.
2.3 รูปถ่ายหน้าตรง ครึ่งตัว ไม่หันข้าง ไม่ยิ้มเห็นฟัน (รูปถ่ายต้องเห็นศีรษะและ ส่วนบนของหัวไหล่)
2.4 ต้องแต่งกายสุภาพ หรือชุดยูนิฟอร์ม (ห้ามสวมเสื้อยืดคอกลม)
2.5 ไม่สวมแว่นตา หมวก เครื่องประดับศีรษะ หรือผ้าคลุม(ยกเว้น ผ้าคลุมทางศาสนา)
2.6 ไม่ควรมีหนวดเครา และทรงผมไม่ปกปิดหน้าตา ควรเก็บรวบให้เรียบร้อยไว้บริเวณด้านหลัง
2.7 ไม่สวมเครื่องประดับ ต่างหู สร้อยคอ หรือการเจาะจมูก
2.8 รูปถ่ายต้องมีความชัดเจน ภาพไม่แตกหรือเบลอ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
หากรูปถ่ายไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ได้รับการพิจารณาอนุญาตออกบัตรใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี และจะถือว่าผู้ขอรับใบอนุญาตละทิ้งคำขอรับใบอนุญาตให้ตัดออกจากระบบการขอรับใบอนุญาตเมื่อเกินกำหนด
ปัจจุบันมีการจัดการทดสอบ 3 ลักษณะ
1. การจัดทดสอบแบบออนไลน์
2. การจัดสอบ ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
3. การจัดสอบ ณ ศูนย์ปรมาณูภูมิภาค ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
การจัดทดสอบทั้ง 3 ลักษณะมีการจับเวลาทดสอบ
ปัจจุบันไม่มีจัดการทดสอบแบบกระดาษแล้ว
ปัจจุบันต้องดำเนินการผ่านเว็บไซด์ rsothai.oap.go.th โดยขั้นตอนดังนี้
1. สมัครเป็นสมาชิกระบบ
1.1 กดปุ่ม ลงทะเบียนเพื่อสมัครเป็นสมาชิกระบบ
1.2 กรอก e-mailที่ใช้ในการลงทะเบียน
1.3 ตรวจสอบ e-mail และกรอก OTP ที่ได้รับเพื่อยืนยันตัวตน
1.4 เข้าระบบใหม่ และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องตามบัตรประชาชน รูปถ่ายมาตรฐาน และหลักฐานถูกต้องตามคุณสมบัติและคุณวุฒิ
ติดตามและตรวจสอบสถานะว่า “ผ่าน” ข้อมูลบุคคล
2. สมัครทดสอบ
เลือกสมัครทดสอบความรู้ความสามารถกับโครงการที่สนใจ
ติดตามและตรวจสอบสถานะว่า “ผ่าน..” คุณสมบัติและวุฒิ
ดาว์นโหลดใบแจ้งชำระค่าสมัครทดสอบ และไปชำระค่าสมัครทดสอบ ณ ธนาคาร ที่ร่วมโครงการ
ติดตามประกาศผู้มีสิทธิ์ทดสอบ ณ ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซด์ rsothai.go.th
หมายเหตุ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำ ที่ 0-259-7600 ต่อ 4308 หรือ e-mail: rso@oap.go.th ระบุเรื่อง “สอบถามการทดสอบ/การใช้งานระบบ” พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดกลับได้
ไม่ต้องดำเนินการทดสอบใหม่ทั้งหมด สามารถสมัครทดสอบซ่อมเฉพาะวิชาที่ทดสอบไม่ผ่านได้
ผลการสอบภาคทฤษฎีแต่ละวิชาและภาคปฏิบัติมีอายุสองปีนับแต่วันที่ประกาศผลสอบ
ด้วยปัจจุบัน ปส. มีการบริการเปิดรับสมัครทกสอบทุกเดือน ดังนั้นจึงสามารถสมัครทดสอบได้ทุกเดือนตามความประสงค์ หรือดูรายละเอียดได้ที่ ที่เว็บไซด์ http://rsothai.oap.go.th
การขอเลื่อนทดสอบไปในครั้งถัดไปแต่ต้องไม่เกิน 1 เดือนนับแต่วันขอเลื่อนโดยต้องแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าพร้อมเหตุผลความจำเป็นก่อนวันปิดรับสมัครทดสอบของครั้งที่สมัครทดสอบไว้เดิมไม่น้อยกว่า 3 วันทำการที่ 0-259-7600 ต่อ 4308
เจ้าหน้าทีความปลอดภัยทางรังสีที่จะต้องผ่านการสอบภาคปฏิบัติมีดังนี้
1. ระดับกลาง ประเภทวัสดุกัมมันตรังสี
2. ระดับกลาง ประเภทวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสี
3. ระดับสูงทุกประเภท
ผู้ที่จะสมัครสอบภาคปฏิบัติเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูงได้ จะต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านภาคทฤษฎีก่อนแล้วเท่านั้น
บัตรประชาชน ปากกา และเครื่องคิดเลขไม่มีฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
เวลาสอบภาคทฤษฎีในแต่ละวิชา
1. วิชากฎหมาย เวลาทำข้อสอบ 1.30 ช.ม.
2. วิชาด้านเทคนิคเกี่ยวกับรังสี ประเภทวัสดุกัมมันตรังสี เวลาทำข้อสอบ 2 ช.ม.
3. วิชาด้านเทคนิคเกี่ยวกับรังสี ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี เวลาทำข้อสอบ 2 ช.ม.
4. วิชาด้านเทคนิคเกี่ยวกับรังสี ประเภทวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสี เวลาทำข้อสอบ 2.30 ช.ม.
1. ให้ตรวจดูว่า
– ทดสอบผ่านครบถ้วนทุกวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และผลผ่านการทดสอบไม่เกิน 2 ปี
– ตรงตาม คุณสมบุติและคุณวุฒิ ตามประกาศ ปส. เรื่องการเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563 ที่จะขอรับใบอนุญาต RSO ระดับ และประเภท ที่ต้องการ
2. ยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ปลอดภัยทางรังสี ที่ http://rsothai.oap.go.th ที่หัวข้อ “ขอรับใบอนุญาตตาม ข้อ 6(3) ของกฎกระทรวงฯ”
หมายเหตุ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำ ที่ 0-259-7600 ต่อ 4308 หรือ e-mail: rso@oap.go.th ระบุเรื่อง “สอบถามการขอรับใบอนุญาต/การใช้งานระบบ” พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดกลับได้
ต้องมีคุณสมบัติและคุณวุฒิตามข้อ 3 ของกฎกระทรวง กำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. ๒๕๖๓ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://rsothai@oap.go.th
1. ผู้ที่ผ่านการทดสอบแล้วจะไม่ได้รับใบอนุญาตทันที จะต้องดำเนินการดังนี้
ได้ตรวจสอบด้วยตนเองแล้วว่า ได้ผ่านทดสอบครบถ้วนทุกวิชาในภาคทฤษฎี และผ่านทดสอบภาคปฏิบัติแล้วเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับกลางประเภทวัสดุกัมมันตรังสี ระดับกลางประเภทวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกำเนิดรังสี และระดับสูงทุกประเภท
2. ได้ยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ปลอดภัยทางรังสีพร้อมเอกสารหลักฐานและรูปถ่ายแล้ว ที่ เว็บไซด์ http://rsothai.oap.go.th ที่หัวข้อ “ขอรับใบอนุญาตตาม ข้อ 6(3) ของกฎกระทรวงฯ”
3. ผู้สมัครได้รับหนังสือจาก ปส. ให้ไปชำระค่าธรรมเนียม แล้วแสดงหลักฐานการชำระ
4. ได้รับใบอนุญาตฯ ภายใน 7 ทำการนับแต่วันที่ชำระค่าธรรมเนียน ตามที่อยู่ที่ผู้สมัครระบุไว้ในระบบรับสมัคร
1. ดำเนินการตามคำแนะนำที่ http://rsothai.oap.go.th ส่วนประชาสัมพันธ์ เรื่อง “ยื่นขอรับใบอนุญาตแล้ว ยังไม่ได้รับใบอนุญาต”
2. แจ้งเจ้าหน้าที่ได้ที่ e-mail: rso@oap.go.th พร้อมทั้งแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งใบอนุญาตและโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
1. ดำเนินการตามคำแนะนำที่ http://rso.oap.go.th ส่วนประชาสัมพันธ์ เรื่อง “การอัพโหลดเอกสาร”
2. ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำ ที่ 0-259-7600 ต่อ 4308
3. ติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่e-mail: rso@oap.go.th พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่จะอัพโหลด และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
ผู้สมัครสามารถชำระเงินค่าสมัครสอบได้ ๓ ช่องทางดังต่อไปนี้
1. ชำระผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย
2. ผ่านแอพพลิเคชั่น Krungthai connext COMP CODE : 701641 – สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ – จนท.รังสี
3. ชำระผ่านตู้ ATM COMP CODE : 701641
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมมี 2 ค่าธรรมเนียม
– ค่าธรรมเนียมการสมัครทดสอบจะต้องชำระก่อนประกาศผู้มีสิทธิเข้าทดสอบ
– ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต RSO จะต้องชำระภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับใบแจ้งการชำระเงินจาก ปส.
ปส. ไม่มีการจัดอบรมเพื่อสอบ RSO โดยตรง
หากผู้สมัครสอบต้องการอบรมให้หาข้อมูลเพิ่มเติมจาก สทน. หรือสถาบันการศึกษาที่เปิดอบรมให้ความรู้ในเรื่องนี้
ไม่มีการเปิดติวหรืออบรมสำหรับการสอบใดๆ ทั้งสิ้น
ไม่เกิน 5 ปี
ต้องตรวจดูว่ามีคุณสมบัติและคุณวุฒิถูกต้องครบถ้วนกับระดับที่ต้องการ เช่น ระดับกลางสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือ เป็น RSOระดับต้นปฏิบัติหน้าที่มาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผ่านอบรมหลักสูตรที่สำนักงานรับรอง ระดับสูงสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และผ่านอบรมหลักสูตรที่สำนักงานรับรอง หรือเป็น RSO ระดับกลางปฏิบัติหน้าที่มาไม่น้อยกว่าสองปี และผ่านหลักสูตรที่สำนักงานรับรอง
ต้องผ่านหลักเกณฑ์การเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามประกาศสำนักงานเรื่องการเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://rsothai.oap.go.th
หมวดที่ 2: การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
ดำเนินการขอทดสอบใหม่ หรือ ดำเนินการตามเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามข้อ ๖ ขอกฎกระทรวง กำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://rso-training.oap.go.th
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ยกเว้นได้ดำเนินการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตครบถ้วนก่อนใบอนุญาตหมดอายุแล้วดังต่อไปนี้
1. ผู้ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตต้องผ่านอบรมและทดสอบตามประกาศสำนักงาน ปส. เรื่อง การเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
2. ยื่นแบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเลขาธิการ ตามมาตรา 95 แล้ว ยังคงให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าเลขาธิการจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
3. การต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
สามารถยื่นภายใน 90 วันแต่ไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนใบอนุญาตฯ สิ้นอายุ ซึ่งเป็นไปตามข้อ ๙ ของกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. ๒๕๖๓
หมวดที่ 3: กรณีใบอนุญาตชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย
ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเลขาธิการ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการชำรุดในสำระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย
การขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี มี 3 ช่องทาง ดังนี้
1. เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ จากหน่วยงานที่เลขาธิการ
กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามข้อ 6 (1) ของกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563 และประกาศสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่อง การเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564 ดังนี้
1.1 เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิค
1.2 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(ก) สาขารังสีวิทยาทั่วไป
(ข) สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
(ค) สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
(ง) สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
1.3 เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยศาสตร์ฟิสิกส์การแพทย์
ใบอนุญาตจากหน่วยงานข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 (ก) และ (ข)ใช้ได้สำหรับการเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับต้น ทุกประเภท และระดับกลาง ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี
ส่วนใบอนุญาตจากหน่วยงานข้อ 1.2 (ค) และ (ง) และหนังสืออนุญาตตามข้อ 1.3 ใช้ได้สำหรับการเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับต้น ทุกประเภท และระดับกลาง ทุกประเภท
อายุใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ทาง กอจ. กอญ. จะพิจารณาและออกอายุใบอนุญาตดังนี้
– สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค/เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
แบบตลอดชีพ จะได้รับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีมีอายุ 5 ปี
แบบชั่วคราว 5 ปี จะได้รับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีตามอายุที่เหลือของใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค/เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
– สำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยศาสตร์ฟิสิกส์การแพทย์ แบบชั่วคราว 2 ปี จะได้รับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีตามอายุที่เหลือของใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
2. ผ่านการเทียบหลักสูตรการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการเทียบหลักสูตรที่เลขาธิการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามข้อ 6(2) ของกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563
หลักสูตรการศึกษาที่ได้รับการเทียบใช้ได้สำหรับการเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับต้น ทุกประเภท และระดับกลางทุกประเภท โดยใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี
3. ผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการกำหนดโดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ตามข้อ 6(3) ของกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2563
ผู้ที่ขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีด้วยหลักเกณฑ์นี้ สามารถขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีได้ทุกระดับ และทุกประเภท โดยใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี
(เป็นหลักเกณฑ์เดียวที่จะขอรับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับสูง ทุกประเภท)