นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมใหญ่สมัยสามัญของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ สมัยที่ 67 (The 67th IAEA General Conference: IAEA GC67) ตั้งแต่วันที่ 25 -29 กันยายน 2566 ซึ่งจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย โดยประเทศไทย ในฐานะประเทศสมาชิก IAEA เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ร่วมกับประเทศสมาชิกกว่า 177 ประเทศ ทั่วโลก เพื่อร่วมรายงานผลการดำเนินงานในการส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ โดยการสนับสนุนจาก IAEA ในรอบปี 2566 และการวางแผนงานในอนาคต เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมใหญ่สมัยสามัญของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ สมัยที่ 67 (The 67th IAEA General Conference: IAEA GC67) ตั้งแต่วันที่ 25 -29 กันยายน 2566 ซึ่งจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย โดยประเทศไทย ในฐานะประเทศสมาชิก IAEA เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ร่วมกับประเทศสมาชิกกว่า 177 ประเทศ ทั่วโลก เพื่อร่วมรายงานผลการดำเนินงานในการส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ โดยการสนับสนุนจาก IAEA ในรอบปี 2566 และการวางแผนงานในอนาคต เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การประชุมในครั้งนี้ นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติขอแสดงความยินดีในโอกาสที่นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล ที่ได้รับการเสนอชื่อจากประเทศสมาชิกให้เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งถือเป็นสุภาพสตรีลำดับที่ 6 ที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานประชุมใหญ่สมัยสามัญของ IAEA และนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย
นอกจากนี้ การประชุมใหญ่สมัยสามัญของ IAEA สมัยที่ 67 ยังมีการประชุมที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกิจกรรมคู่ขนาน อาทิ เวทีเสวนาทางวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อ Scientific Forum on Nuclear Innovation for Net Zero ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อจัดการเพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์เป็นศูนย์ และประเทศไทยโดยผู้แทนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการในโอกาสครบรอบ 20 ปีของเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษานิวเคลียร์ในเอเซีย Asian Network for Education in Nuclear Technology (ANENT)
ประเทศไทยพร้อมสนับสนุนการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และข้อตกลงเกี่ยวข้องของ IAEA และยืนยันเจตนารมย์ของไทยในความพร้อมที่จะประสานงานและดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ IAEA ตลอดจนกลไกระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ความมั่นคงปลอดภัย และการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ เพื่อความปลอดภัยและผาสุกปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน