ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ และ การกำกับดูแล
ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ หมายถึง การดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขการเดินเครื่อง(ปฏิกรณ์ปรมาณู/นิวเคลียร์) อย่างเหมาะสม โดยมีมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หรือ การบรรเทาผลของอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายจากรังสี
วัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย
1. วัตถุประสงค์ทั่วไปด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
- เพื่อป้องกันประชาชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม จากผลกระทบทางรังสี โดยจัดให้มีการป้องกันและบำรุงรักษาระบบต่างๆเพื่อกักเก็บสารกัมมันตรังสีไม่ให้แพร่กระจาย
2.วัตถุประสงค์ด้านการป้องกันรังสี
- เพื่อประกันว่าการได้รับรังสีในทุกขั้นตอนของการเดินเครื่องตามที่วางแผนไว้ เป็นปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ และ อยู่ภายใต้ปริมาณที่กำหนด และมั่นใจได้ว่ามีการบรรเทาผลกระทบทางรังสีจากกรณีอุบัติเหตุ
3.วัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยทางเทคนิค
- เพื่อนำมาตรการต่างๆที่สมเหตุสมผลมาใช้ป้องกันอุบัติเหตุในสถานปฏิบัติการทางนิวเคลียร์ และบรรเทาผลกระทบหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น
- เพื่อให้มั่นใจว่าอุบัติเหตุทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น ได้ถูกนำมาพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ (รวมถึงอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากๆ) มีผลกระทบทางรังสีน้อย และ อยู่ภายใต้เกณฑ์กำหนด
- เพื่อให้มั่นใจว่าอุบัติเหตุรุนแรง และ มีผลกระทบทางรังสีมาก มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก
นโยบายการจัดการกากกัมมันตรังสี
1. วัฎจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบปิด คือ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้วและนำมาประกอบเป็นเชื้อเพลิงใช้ใหม่ เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเป็นการปริมาณการเชื้อเพลิงที่จะถูกฝังเก็บใต้ดินประเทศที่เลือกใช้วิธีนี้คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย อินเดีย
2. วัฎจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบเปิด คือ การใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ภายในเครื่องปฏิกรณ์เพียงครั้งเดียวแล้วไม่ได้นำมาผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เชื้อเพลิงที่ใช้แล้วจะถูกรวมรวบแล้วนำไปฝังเก็บทั้งแท่ง ประเทศที่เลือกใช้วิธีนี้คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เกาหลีใต้ ฟินแลนด์ สเปน สวีเดน
ที่มา ::: โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ NT TAM Camp 2008 วราภรณ์ วัชรสุรกุล สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ