ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติเอ็น ๑๗๑ (National Data Center, N171)

ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติเอ็น ๑๗๑ (National Data Center, N171) เป็นศูนย์ข้อมูลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (The Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty, CTBT) (ดูรายละเอียดของสนธิสัญญาได้ที่ https://www.oap.go.th/research-and-development/ctbt/ หรือ https://www.ctbto.org/our-mission/the-treaty) รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ (International Monitoring System, IMS) ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญานี้ (รายละเอียดของระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศสามารถเข้าดูได้ที่ https://www.ctbto.org/our-work/monitoring-technologies และ https://www.ctbto.org/our-work/ims-map) โดยศูนย์ข้อมูลแห่งชาติเอ็น ๑๗๑ แบ่งออกเป็น ศูนย์ข้อมูลด้านนิวไคลด์กัมมันตรังสี (Radionuclide Technique) ดูแลโดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และศูนย์ข้อมูลด้านเวฟฟอร์ม (Waveform Technique) ดูแลโดยกรมอุตุนิยมวิทยา

ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติเอ็น ๑๗๑ มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ ดังนี้

  1. เฝ้าตรวจการบังคับใช้ของสนธิสัญญาในการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เช่น การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
  2. เฝ้าตรวจการแพร่กระจายของนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
  3. การเตือนภัยจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ โดยความร่วมมือกับกรมอุทกศาสตร์ และกรมอุตุนิยมวิทยา
  4. การวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลความปลอดภัยจากนิวเคลียร์และรังสี เช่น การคำนวณการได้รับรังสีจากนิวไคลด์รังสีที่ได้รับจากการหายใจ

นอกจากนี้ ข้อมูลของระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัยอื่นๆ ตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์สามารถดูได้จาก https://www.ctbto.org/our-work/civil-and-scientific-applications

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการสำหรับองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (The Preparatory Commission for the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization, CTBTO PrepCom) เปิดโอกาสให้นักวิจัยสามารถนำข้อมูลของระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศมาใช้ประโยชน์ได้ โดยการร้องขอผ่านระบบ vDEC (Virtual Data Exploitation Center) โดยตรง (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ctbto.org/resources/for-researchers-experts/vdec) ทั้งนี้ หากมีปัญหาในการดำเนินการผ่านระบบ vDEC สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากกลุ่มพัฒนาด้านความปลอดภัย กองพัฒนาระบบและมาตรฐานการกำกับดูแลความปลอดภัย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติเอ็น ๑๗๑ (National Data Center, N171) จัดตั้งขึ้นภายในสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (The Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty, CTBT) รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ (International Monitoring System, IMS) ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญานี้

ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติเอ็น ๑๗๑ มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ ดังนี้

  1. เพื่อเฝ้าตรวจการบังคับใช้ของสนธิสัญญาในการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เช่น การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
  2. เพื่อเฝ้าตรวจการแพร่กระจายของนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
  3. เพื่อการเตือนภัยจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ โดยความร่วมมือกับกรมอุทกศาสตร์ และกรมอุตุนิยมวิทยา
  4. เป็นข้อมูลสำหรับการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลความปลอดภัยจากนิวเคลียร์และรังสี เช่น การคำนวณการได้รับรังสีจากนิวไคลด์รังสีที่ได้รับจากการหายใจ

ข่าวสาร

CTBTO National Data Center (NDC) Capacity Building Workshop and Regional Seismic Travel Time (RSTT) in combination with Data Sharing and Integration Training

เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ถึง ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมกับคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Preparatory Commission for the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization: CTBTO PrepCom) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง National Data Center (NDC) Capacity Building Workshop and Regional Seismic Travel Time (RSTT) in combination with Data Sharing and Integration Training ณ โรงแรมแชงกรีล่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ระหว่างศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ และฝึกอบรมการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาตำแหน่งของการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรมจากประเทศสมาชิกของสนธิสัญญาในทวีปเอเซีย จำนวน ๑๙ คน จาก ๑๗ ประเทศ โดยประเทศไทยมีเจ้าหน้าที่จากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เข้าร่วม

Skip to content